แด่ตัวฉันและเพื่อนผู้ร่วมเดินทาง

Mon Jam Sun Flowers Field Tropical Sakura

We Use Our Smartphones To Take Pictures Around Chiang Mai, Thailand.

Chiang Mai is one of the most famous and beautiful cities in Thailand surrounded by mountains. Here are some pictures around Chiang Mai where we’ve visited. Anyway, we’re not photographers. We don’t have any expensive camera (though we really want one), but we love to take pictures. So we use our smartphones to shoot. Our pictures are not as gorgeous as others in this website, but we proudly post what we’ve seen in this city.

KT Traveler










Contact Us

Follow us on Instagram


ไร่รื่นรมย์ เทิง เชียงราย – สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของทายาทนักธุรกิจผู้สนใจเกษตรอินทรีย์

เขาเสียหายหมื่นหนึ่ง เขายังอยู่ได้ เราเสียหายหมื่นหนึ่งเราอยู่ไม่ได้ เราให้เขาเรียนรู้ แล้วเราก็ค่อยเรียนรู้จากเขา” แม่พูด





เมษายนนี้ เปิดสถานที่แห่งความรื่นรมย์และการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แห่งใหม่ของเชียงราย





พอดีผมกลับบ้าน แต่ครั้นจะให้อยู่บ้านเฉยๆก็กะไรอยู่ เลยออกไปดูสถานที่ที่ชาวบ้านบ้านผมไปช่วยก่อสร้าง ป้าผมบอกว่าไปทำงานที่เจ๊เปิ้ล
ใครคือเจ๊เปิ้ลวะ – ไม่รู้จัก ไม่สนใจ
แต่พอป้าบอกว่าจะเปิดเป็นที่ท่องเที่ยวเดือนเมษายนนี้ หูผึ่งเลย(เรื่องเที่ยวขอให้บอก) ทำให้ต้องจับบัมเบิ้ลบีมอไซค์คันโปรดไปดู


ตัวอาคารกำลังก่อสร้าง

คิดว่าน่าจะเป็นบ้านต้นไม้

รูปจาก https://www.facebook.com/rairuenrom


ไร่ชื่อ ไร่รื่นรมย์ ส่วนเจ๊เปิ้ลที่น้าๆป้าๆแถวบ้านเรียกคือคุณ ศิริวิมล กิตะพาณิชย์
จากการพึ่งอากู๋ค้นหาข้อมูล พบว่าเจ๊เปิ้ล จบจากออสเตรเลีย แต่มีใจรักในเกษตรอินทรีย์ อยากเดินตามทางในหลวง และได้เข้าโครงการ ไร่ 1 แสน รวมทั้งเรียนรู้วิถีคนเกษตรกับคุณโจน จันได หรือโจน บ้านดิน ผู้โด่งดัง แห่งเมืองเชียงใหม่
เจ๊เปิ้ลไม่ได้มาคนเดียว ชักชวนพี่สาว คุณวิลาสินี กิตะพาณิชย์มาร่วมทำการตลาดด้วย




คนเมืองเทิงเราจะได้เห็นอะไร (ในมุมมองความคิดกับสมองเล็กๆของผม)
-          เรามีสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (แน่นอนล่ะสิ)
-          เรามีสถานที่กินอาหาร ดื่มน้ำที่ปลอดสารพิษ
-          และที่สำคัญเรามีห้องเรียนเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ให้เราได้เรียนรู้

ผมพูดกับแม่ว่าอย่างเราไม่สามารถทำแบบเขาได้
แม่บอกว่า เขาเสียหายหมื่นหนึ่ง เขายังอยู่ได้ เราเสียหายหมื่นหนึ่งเราอยู่ไม่ได้ เราให้เขาเรียนรู้ แล้วเราก็ค่อยเรียนรู้จากเขา
ถ้าเราทดลองการทำเกษตรอินทรีย์ แล้วเราเสียหาย ชาวบ้านจนๆทั่วไปอย่างเราย่อมทุกข์หนัก แต่ตอนนี้เรามีห้องเรียนให้เราได้เรียนรู้ (จากการให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆและคำกล่าวของชาวบ้าน เชื่อว่าทางบริษัทยินดีให้เราได้เรียนรู้ครับ และเป็นไปได้ว่าทางบริษัทของตีตลาดเข้าหาทางโรงเรียนและผู้ปกครองให้เด็กนักเรียนเข้ามาเรียนรู้ด้วย)


ห้องน้ำ(แยกหญิง-ชาย)ขนาดใหญ่พอรองรับคนได้




ทางเข้าที่ง่ายที่สุดอยู่คือทางเข้าบ้านโนนสมบูรณ์ เข้าไปช่วงแรกจะเป็นถนนลาดยาง จะมีป้ายบอกว่าต้องเลี้ยวขวา ลงไปถนนคลุกฝุ่น (ตอนนี้ถนนยังไม่ดีนัก แต่ดูจากประวัติของสองพี่น้องที่เข้ามาสร้างและ progress ในการดำเนินงานของบริษัท อีกไม่นานถนนดีกว่านี้แน่ครับ)








ขอบคุณบางรูปจาก https://www.facebook.com/rairuenrom

การหายไปของหนังสือพิมพ์

ติดตาม





คนบ้านนอกอย่างเรารับข่าวสารจากวิทยุ FM และคำเล่าของเพื่อนบ้านมากที่สุด
(การหายไปของหนังสือพิมพ์ในสังคมบ้านผม จะว่าบ้านนอกก็เกรงว่า บ้านนอกที่อื่นจะแย้ง)

- เอารูปควายแถวบ้านมาฝาก -



ระหว่างการอ่านข่าวออนไลน์กับการอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์พ่อกับแม่ได้รับข่าวทางไหนมากกว่ากัน
ไม่ทั้งสองทางทั้งสองตอบ

ครั้งหนึ่งในชีวิตของใครหลายๆคนคงต้องสอบภาษาอังกฤษส่วนการเขียน ซึ่งถือว่าค่อนข้างยาก ไม่เพียงแต่ความยากของภาษา การกลั่นกรองความคิดและการเรียงลำดับความคิดยังถือเป็นสิ่งสนับสนุนให้ยากขึ้นไปอีก ซึ่งเราจะกลั่นกรองความคิดออกมาได้อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมหรือความรู้พื้นฐาน (Background Knowledge) ที่เราได้เรียนหรือได้รู้มาก่อนที่จะมาตอบคำถามนั้นๆ

ผมนึกถึงคำถามที่ผมเจอตอนตอบข้อเขียนของภาษาอังกฤษ
ปัจจุบันดูเหมือนข่าวสารออนไลน์จะมีเพิ่มขึ้น ท่านคิดว่าในอนาคตสื่อออนไลน์จะแทนหนังสือพิมพ์หรือไม่

ด้วยความมี internet and wifi addiction ของผม ผมก็ตอบไปว่าอาจเป็นไปได้ พร้อมกับยกตัวอย่างมาแปะ ทั้งผู้คนใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีความสะดวกสบายในการอ่านมากขึ้น หยิบมาอ่านที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้โดยไม่ต้องแบกหนังสือพิมพ์เป็นฉบับๆ สามารถเข้าถึงข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และเว็บข่าวบางเว็บอัพเดทข่าวเร็วกว่าหนังสือพิมพ์เสียอีก แม้คะแนนที่ได้จะไม่ได้สูงมากแต่ผมยิ้มกริ่ม ยกมุมปากในกระจกในห้องน้ำหลังทำข้อสอบแสดงความพอใจในคำตอบของตัวเองนิดๆ





 เมื่อได้โอกาสกลับไปเยี่ยมบ้าน ผมนึกสนุกนำคำถามมาถามพ่อแม่ โดยปรับคำถามนิดหน่อย
ระหว่างการอ่านข่าวออนไลน์กับการอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์พ่อกับแม่ได้รับข่าวทางไหนมากกว่ากัน
ไม่ทั้งสองทางทั้งสองตอบ

ทำไมเป็นเช่นนั้นล่ะ

แม่บอกว่า คนรุ่นนี้ บ้านนอกเช่นนี้จะดูจะอ่านข่าวออนไลน์ยังไง อินเทอร์เน็ตยังใช้ไม่เป็นเลย โทรศัพท์ก็ยังเป็นรุ่นดึกดำบรรพ์อยู่

แม้จะมีบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์หลายบริษัทเค้ามาในตำบล รับแลกโทรศัพท์เก่ากับโทรศัพท์ให้ โดยมีข้อแม้ให้ใช้ซิมของบริษัท ซึ่งคงเป็นกลยุทธ์ในการรักษาลูกค้าเครือข่ายไว้ แต่หลายคนยังคงปฏิเสธ การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนไม่ได้ถือเป็นของเล่นสำหรับคนรุ่นเก่า หากได้มาแต่ใช้ไม่เป็นก็ไม่รู้จะเอามาทำไม

ดังนั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนรุ่นพ่อที่อาศัยอยู่บ้านนอกแบบนี้แทบเป็นไปไม่ได้เลย

หนังสือพิมพ์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง จะหาได้สักเล่มต้องออกไปในเมืองไม่ก็ต้องขี่รถไปซื้ออีกตำบลซึ่งก็หลายกิโลเมตรอยู่เหมือนกัน
เรามันบ้านนอก...

เมื่อผมเป็นเด็ก จำได้ว่าแต่ละหมู่บ้านจะมีที่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่น่าเชื่อว่าหนอนหนังสือในหมู่บ้านก็ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน หลายคนเข้าไปอ่านข่าวหน้าหนึ่ง แล้วนำไปพูดให้คนฟัง ส่วนเด็กตัวเล็กๆอย่างพวกผม ก็เคยแอบไปตัดหนังสือพิมพ์เอารูปดารามาประกอบการเรียนบ่อยครั้ง เช่นตอนครูสั่งให้หารูปแล้วมาสร้างแผนภูมิครอบครัว จะไปหารูปที่ไหนได้ล่ะ แย่งตัดหนังสือพิมพ์กันยกใหญ่ (กลัวผู้ใหญ่บ้านและผู้ดูแลรู้ก็กลัว รีบตัดรีบหนี แต่มิวาย ตัดรูปดาราที่ตนชอบติดมือมาแปะผนังบ้านด้วย ผมเชื่อเหลือเกินว่าเด็กบ้านนอกรุ่นยี่สิบกว่าๆหรือสามสิบกว่าๆทำเหมือนกัน)

แต่ปัจจุบันไม่มีแม้แต่ที่แขวนหนังสือพิมพ์แล้ว






ลดอายุจากคนวัยห้าสิบกว่ากว่าอย่างพ่อ และวัยสี่สิบกว่า(ที่ยืนยันไม่ใช้สมาร์ทโฟน) จากการสังเกต วัยรุ่นอายุราวสามสิบถึงสี่สิบ (คนแถวบ้านชอบเรียกตนเองว่ายังเป็นวัยรุ่น) และพวกผู้นำหมู่บ้านก็เริ่มมีการใช้สามาร์ทโฟนมากขึ้น แต่ก็ยังงงๆกับฟังก์ชันในนั้นอยู่ อาจมีบ้างที่อ่านข่าวที่มีบางคนแชร์เข้าเฟสบุคเข้าไลน์ แต่คงไม่เยอะนัก

ต้องยอมรับผู้คนรับข่าวสารจากทีวีค่อนข้างเยอะ ในเวลากินข้าวเช้าและเย็นก็มักเปิดทีวีดูข่าวไปด้วย

แต่เมื่อคนบ้านนอกส่วนใหญ่ยังคงหาเช้ากินค่ำ ครั้นจะให้นั่งดูทีวีฟังข่าวสารทั้งวันคงเป็นไปไม่ได้

วิทยุ FM. เป็นอีกสื่อที่ฮอตฮิตขาดไม่ได้แม้ว่าบ้านไหนๆ เกือบทุกบ้านมีทรานซิสเตอร์เปิดฟังระหว่างทำงาน ข่าวสารก็ถูกสื่อออกมาให้ผู้รับสารได้รับฟังและคิด

นั่นเป็นสาเหตุให้พวกชาวบ้านไม่เคยตกเทรนด์ข่าวสารเลย

คนในหมู่บ้านรับรู้ข่าวแทบจะทุกเรื่อง ทั้งการเมือง กีฬา ดารา โดยเฉพาะเรื่องดราม่าต่างๆ เช่นนักท่องเที่ยวต่างชาติกินแล้วโวยวายไม่จ่ายตังค์เป็นต้น







อย่างที่กล่าว วัยรุ่นและพวกผู้นำอาจรับรู้ข่าวจากการอ่านข่าวออนไลน์ หลายคนดูข่าวจากทีวีและฟังวิทยุ แต่ข่าวเหล่านี้แพร่เร็วได้เร็วมาก

บ้านผมทำตะกร้าหวาย (เกือบทั้งหมู่บ้านทำตะกร้าหวาย)  เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP รายได้หลักนอกจากทำเกษตรกรรมแล้วก็มาจากตะกร้าหวายนี่แหละ และแน่นอนจะทำอยู่บ้านคนเดียวมันก็กะไรอยู่ เหงา เบื่อ เลยเกิดการล้อมวงตะกร้าขึ้น แม่นั่นยกตูดมานั่ง ป้าโน่นปั่นจักรยานมาแวะ ยายโน้นเดินฮำเพลงพุ่มพวงเข้ามาแจม กลายเป็นวงใหญ่ขึ้น

ข่าวสารอยู่มาจากเว็บไซต์ไหนหรือทีวีช่องไหนไม่รู้ แต่เวทีตะกร้าหวายเป็นเวทีที่เปิดให้ผู้ประกาศข่าวสมัครเล่นมาทดลองหน้ากล้องกันได้อย่างสม่ำเสมอ (คงแนวเดียวกันกับแม่ค้าเลยกระมัง)

อย่างไรก็ตาม ข่าวที่ผู้คนส่วนใหญ่ได้รับมาจากโทรทัศน์ วิทยุ และมาจากออนไลน์บ้าง เราจะเห็นได้ยากมากที่ผู้คนจะบอกว่า เมื่อเช้าฉันอ่านหนังสือพิมพ์นี้มา มันบอกว่า…”


หนังสือพิมพ์เริ่มหายไปเสียแล้ว...
ไม่มีหนังสือพิมพ์ให้เด็กฉีกรูปไปแปะส่งงานครูอีกแล้ว...
ไม่มีหนังสือพิพม์ให้คนในชุมชนเคี้ยวหมากแล้วนั่งอ่านอีกแล้ว...
น่าเศร้าสำหรับหนังสือพิมพ์ เพราะดูเหมือนว่าเราทุกคนจะยอมรับได้กับการจากไป ไม่ได้โอดครวญโหยหามันอีกแล้ว ทุกคนมีทีวี วิทยุ วัยรุ่นและผู้นำมีสมาร์ทโฟน หนังสือพิมจึงพ์ยิ่งยากที่จะมีใครสักคนหยิบขึ้นมาอ่าน
น่าเศร้ากับน้องหนังสือพิมพ์เอ๋ย ที่ไม่ค่อยได้มีบทบาทนักในหมู่บ้านพี่...



(จำได้ว่า) เที่ยวเชียงใหม่ พะเยา - ผ่านเชียงราย และวังเหนือ(ลำปาง)

ติดตาม

https://www.facebook.com/khanmark/


(จำได้ว่า) เที่ยวเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา
ค่าน้ำมัน: 80 (มีน้ำมันในถังก่อนแล้วนิดหน่อย)
สถานที่:
เที่ยวเชียงใหม่ – เขื่อนแม่กวง, อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ดอยสะเก็ด
เที่ยวเชียงราย – ร้านกาแฟ coffee view, น้ำพุร้อนแม่ขะจาน เวียงป่าเป้า
ลำปาง - วังเหนือ
เที่ยวพะเยา – จุดชมวิวกว๊านพะเยา, กว๊านพะเยา
(กล้องมือถือ)

  
ก่อน - หลังงานรับปริญญาเพื่อน เฉลิมฉลองด้วยความมึนเมาที่ท่าช้างต่อด้วยตะวันแดง
ออกเดินทาง - รุ่งเช้ารีบตื่นแต่เช้าตรู่เพราะไม่อยากให้ถึงพะเยาเย็น และไม่อยากตากแดดเยอะ
ระหว่างทาง – ระหว่างทางมีที่สวยๆมากมาย เลยแวะเที่ยว (กล้องบ่องามแหมแล้ว สกิลถ่ายฮูปบ่องามแหมต่างหาก)



เที่ยวเชียงใหม่ – อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ดอยสะเก็ด





เที่ยวเชียงใหม่ – อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ดอยสะเก็ด




เที่ยวเชียงราย – น้ำพุร้อนแม่ขะจาน เวียงป่าเป้า



เที่ยวเชียงราย – ร้านกาแฟ coffee view



ลำปาง - วังเหนือ น้ำตกธารทอง







เที่ยวพะเยา – จุดชมวิวกว๊านพะเยา



เที่ยวพะเยา – จุดชมวิวกว๊านพะเยา, กว๊านพะเยา

(จำได้ว่า) เที่ยวนาขั้นบันได แม่กลางหลวง บ้านกองกาน ตีนผา ป่าบงเปียง สวนป่าแม่แจ่ม ออบหลวง

ติดตาม

https://www.facebook.com/khanmark/



เที่ยวนาขั้นบันได แม่กลางหลวง บ้านกองกาน ตีนผา ป่าบงเปียง สวนป่าแม่แจ่ม ออบหลวง


โรงแรมแพมวิว แม่แจ่ม : 350 
ค่าเข้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ : 80
น้ำมัน: 300
ไปสองคน หารๆกัน




2 วัน 1 คืน กับมอเตอร์ไซค์ที่รัก (เรียกมันว่า"บัมเบิ้ลบี"ทั้งๆที่สีน้ำเงินด้วยซ้ำ )และนาขั้นบันไดแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ นาขั้นบันไดบ้านกองกาน บ้านตีนผา บ้านป่าบงเปียง สวนป่าแม่แจ่ม ออบหลวง
(22 ตุลาคม 2557)







เมื่อสองปีที่แล้วมีโอกาสแบกเป้เที่ยวเชียงใหม่หลายที่มาก เนื่องจากได้ไปเรียนและทำงานที่นั่นครับ
สองวันกับสถานที่ดังกล่าวก็เป็นอีกที่ที่ถือว่าทรหดพอสมควร ตอนแรกกะว่าจะไปสักสองสามคืน แต่ลืมดูเงินในกระเป๋า มีแค่ไม่กี่ร้อยเองครับ

เริ่มออกเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่แต่เช้า ไปเส้นทางอ.จอมทอง เข้าดอยอินทนนท์ แวะนาขั้นบันไดแม่กลางหลวง น้ำตกวชิรธาร พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล นภพลภูมิสิริ 



กลับลงมาไปแม่แจ่ม เข้าสามแยกที่ด่านตรวจที่สองดอยอินทนนท์
หลังจากนั้นหาที่พักตามที่พันทิปแนะนำมาคือ โรงแรมแพมวิว ราคาไม่แพง แถมเป็นกันเองมากๆ
พอดีไปถึงไม่เย็นมากเลยแวะไปนาขั้นบันไดบ้านกองกานก่อนเลย 



แสงสวยทีเดียวครับ หลังจากนั้น แวะไปดูน้ำออกรูที่เจ้าของโรงแรมแนะนำ น้ำใสมาก เค้าบอกว่าตอนสงกรานต์คนเยอะ น่าเล่นทีเดียว และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านตักน้ำมาบริโภคกัน (ไม่แน่ใจว่าไปบ่อน้ำก่อนหรือน้ำออกรูก่อน) ขากลับขี่รถเล่น แวะกินหมูทะ (บรรยากาศดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกก)
หลังจากนั้นก็พักผ่อนยามค่ำคืนที่แสนสงบ




ตื่นมาตอนประมาณตีห้า รีบบึ่งแมงกะไซค์ไปดูวิวที่จุดชมวิวบ้านนา ขี่ไปเรื่อยๆ ก็ไม่รู้ว่าที่ไหนคือจุดที่เค้าถ่ายรูปกัน ขี่เข้าไปเรื่อยๆ ไกลมาก แต่สองข้างทางก็สวยมากทีเดียว พอขี่ไปไกลๆเลยตัดสินใจว่าถ้าเห็นที่ไหนวิวสวยๆก็แวะถ่ายรูปกัน
หลังจากจุดชมวิวก็ไปนาขั้นบันไดบ้านป่าบงเปียง ถามคนแถวนั้นไปเรื่อยๆ พอขี่ไปก็เริ่มรู้สึกแปลกๆ ทางเป็นทางดินขรุขระไม่มีหมู่บ้าน ขี่ไปไกลมากกว่าจะเจอหมู่บ้านเลยถามทางเค้าอีกที เค้าก็บอกว่าไปทางนี้แหละ ไปอีกหน่อยเจอหมู่บ้านที่มีนาขั้นบันไดสวยมาก มาดูในเน็ตตามรีวิวต่างๆก็พบว่าเป็นบ้านตีนผา เลยไปอีกถึงเป็นบ้านป่าบงเปียง พอมาถึงป่าบงเปียงถ่ายรูปได้ไม่เท่าไหร่ฝนก็เทลงมา เลยตัดสินใจกับลงมาอีกทางตามคำแนะนำของคนที่มาเที่ยวอีกกลุ่ม 
(มารู้ทีหลังว่าทางกลับดีกว่าทางที่เราไปเยอะ)



หลังจากนั้นกลับเส้นทางฮอด แวะสวนป่าแม่แจ่ม และออบหลวง
จบทริปด้วยความอิดเหนื่อย แต่สวยดีเหมือนกันครับ



_____________________________________________________________________



















(จำได้ว่า) สะเมิง ไปแบบมึนๆ

ติดตาม
https://www.facebook.com/khanmark/




(เปิดกรุภาพ) สะเมิง ไปแบบมึนๆ

(เปิดกรุภาพ - เอาของเก่ามาเล่าก่อน)
(เมื่อมักหลงลืม - เลยต้องบันทึกไว้)

เมื่อนักศึกษาฝึกงานอยากเที่ยว...





สมัยเป็นนักศึกษาฝึกงานหน้าตาบ๊องแบ้ว ใสๆซื่อๆ ไม่เกรียนเหมือนสมัยนี้ และด้วยความซื่อๆของเรานี่แหละ ใครชวนไปไหนไปหมด

สถานที่ฝึกงานให้พวกเราหยุดเพียง 1 วันต่อสัปดาห์ สุมหัวกันคิดว่า วันเดียวจะเที่ยวไหนวะ
สุมหัวคิดกันอยู่พักใหญ่ (แอบอู้ไปด้วย) ได้ที่จะไปสะเมิง

วันรุ่งขึ้น นักศึกษาแว้นกว่าสิบชีวิตก็พามอไซค์คู่กายตัวเองรวมตัวกันที่ฝึกงานตอนแปดโมงเช้า

เราเริ่มเดินทาง...
ไปเส้นทางแม่ริม เข้าสะเมิง







ระหว่างเส้นทางค่อนข้างสวยงาม (แถมความร้อนให้ผิวไหม้เกรียมด้วยนิดหน่อย)

ด้วยความจน ไม่มีกล้องดีๆอย่างคนอื่นเขา มือถือ 2.5 ล้านพิกเซลทำไรได้ไม่มากนัก รูปที่เก็บมาเลยไม่ค่อยมี

พอไปถึงสะเมิง เพื่อนขอไปหาพระอาจารย์ที่สักยันต์ให้ ซึ่งอยู่อีกซีกของสะเมิง จำไม่ได้ว่าตำบลอะไร

ระหว่างทางจากสะเมิงไปวัดที่พระอาจารย์อยู่ ยางรถเกิดรั่ว ใช้เวลาพักใหญ่ในการเปลี่ยนยาง แต่โชคดีที่คนเปลี่ยนยางแนะนำที่เที่ยวให้ เป็นวัดอยู่บนดอย เราขึ้นไป แล้วมองลงมาจะเห็นวิวค่อนข้างสวย

ถึงวัดด้วยความอ่อนระทวย





กลับจากวัดมายังตัวอำเภออีกครั้ง แวะสวนสตอเบอรี่ อาทิตย์ก็เริ่มโบกมือลาแล้ว

เพื่อนเริ่มมีความเห็นต่าง กลุ่มหนึ่งอยากอยู่ต่อ นอนที่นั่น แล้วลาทีฝึกงานสักวัน อีกกลุ่มขอกลับ

ผมก็อยากอยู่ต่อนะ แต่เงินไม่มีเลยกลับกันดีกว่า

ขากลับค่อนขัางน่ากลัว เพราะถนนมืดหมดแล้ว ทางคดเคี้ยวอันตราย จนเพื่อนชาวจีนบอกว่า เป็นครั้งแรกที่เราเดินทางไกลแบบนี้ และเป็นครั้งที่รู้สึกอันตรายมาก

"ไม่เอาอีกแลัว" เพื่อนชาวจีนกล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ

เรายิ้ม..

(ด้วยความร้อนอันโหดร้ายที่แฝงตัวมากับความสุข ทำแสบผิวแสบหน้ากันไปเลยทีเดียว)